สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน
- หน้าแรก
- สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน
รายละเอียดของหลักสูตร
หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต
สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน
หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2564
ชื่อสถาบันอุดมศึกษา : มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
คณะ/ภาควิชา : วิทยาการจัดการ
รหัสและชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน
ภาษาอังกฤษ : Master of Management Program in Public and Private Management Innovation
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ภาษาไทย ชื่อเต็ม : การจัดการมหาบัณฑิต (นวัตกรรมการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน)
ชื่อย่อ : กจ.ม (นวัตกรรมการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน)
ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม : Master of Management (Public and Private Management Innovation)
ชื่อย่อ : M.M. (Public and Private Management Innovation)
วิชาเอก (ถ้ามี) : –
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร :
แผน ก แบบ ก 1
ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
แผน ก แบบ ก 2
ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
แผน ข
ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
รูปแบบของหลักสูตร
รูปแบบ : หลักสูตรปริญญาโท (หลักสูตร 2 ปี)
ภาษาที่ใช้ : จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทย
การรับเข้าศึกษา : รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติที่มีความรู้ภาษาไทยอยู่ในเกณฑ์ระดับดี
ความร่วมมือกับสถาบันอื่น : เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยที่จัดการเรียนการสอนโดยตรง
การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา : ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (Expected Learning Outcome: ELO)
- ประยุกต์ใช้ความรู้ หลักการ ทฤษฎี แนวคิด ด้านนวัตกรรมการจัดการภาครัฐและภาคเอกชนได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
- แสดงออกถึงการเป็น นักบริหารจัดการที่สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านนวัตกรรมการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน
- แสดงพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบต่อสังคม ภาวะผู้นำ และการทำงานเป็นทีมในองค์การภาครัฐและภาคเอกชน
- ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการองค์การภาครัฐ และภาคเอกชน
- วิเคราะห์ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการองค์การภาครัฐ และภาคเอกชน และใช้กระบวนการวิจัยในการหาคำตอบและแก้ไขปัญหา
หลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร
หมวดวิชา | แผน ก แบบ ก1 | แผน ก แบบ ก2 | แผน ข |
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน * | – | 3 | 3 |
หมวดวิชาบังคับ | – | 15 | 15 |
หมวดวิชาเลือก | – | 9 | 15 |
วิทยานิพนธ์ | 36 | 12 | – |
การค้นคว้าอิสระ | – | – | 6 |
รวมไม่น้อยกว่า | 36 หน่วยกิต | 36 หน่วยกิต | 36 หน่วยกิต |
หมายเหตุ 1. * ลงทะเบียนเรียนแบบไม่นับหน่วยกิต
2. นักศึกษาจะต้องเรียนปรับพื้นฐานในรายวิชาตามหมวดวิชาปรับพื้นฐานหรือรายวิชาอื่นๆ ตามดุลพินิจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร โดยไม่นับจำนวนหน่วยกิต
สอบประมวลความรอบรู้ (Comprehensive Examination)
นักศึกษาแผน ก แบบ ก2 และ แผน ข ที่ศึกษารายวิชาครบตามหลักสูตรแล้ว จะต้องสอบประมวลความรู้ ซึ่งเป็นการสอบข้อเขียนที่เกี่ยวกับความรู้ตามวิชาบังคับไม่น้อยกว่า 3 รายวิชา โดยคณะกรรมการบริหารหลักสูตรเป็นผู้กำหนดรายวิชาที่สอบให้ทราบล่วงหน้า และให้ผลการสอบเป็นผ่าน (S) หรือ ไม่ผ่าน (U) ในกรณีที่สอบไม่ผ่านในครั้งแรกให้สอบใหม่ ได้อีก 1 ครั้ง
รายวิชาในหลักสูตร
รหัสวิชา ชื่อวิชา จำนวนหน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
1) หมวดวิชาปรับพื้นฐาน
07-016-101 การรับรู้ข้อมูลและจินตทัศน์ข้อมูล* 1(1-0-2)
(Data Literacy and Visualization)
หมายเหตุ * ลงทะเบียนเรียนแบบไม่นับหน่วยกิต
2) หมวดวิชาบังคับ
07-086-201 นวัตกรรมการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน 3(3-0-6)
(Innovation Management of Public and Private Sector)
07-086-202 การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ 3(3-0-6)
(Strategic of Human Resource Management)
07-086-203 ภาวะผู้นำและการบริหารการเปลี่ยนแปลง 3(3-0-6)
(Leadership and Change Management)
07-086-204 ระเบียบวิธีวิจัยทางการจัดการ 3(2-2-5)
(Research Methodology in Management)
07-086-205 สัมมนานวัตกรรมการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน 3(2-2-5)
(Seminar in Public and Private Sector Management)
2) หมวดวิชาเลือก
07-086-301 การจัดการการเงิน 3(3-0-6)
(Financial Management)
07-086-302 สถิติสำหรับการวิจัยทางการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน 3(2-2-5)
(Statistics for Research of Public and Private Sector Management)
07-086-303 ภาษาอังกฤษสำหรับนักบริหาร 3(3-0-6)
(English for Executives)
07-086-304 เครื่องมือนวัตกรรมการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน 3(3-0-6)
(Innovation Management Tools of Public and Private Sector)
07-086-305 นวัตกรรมการจัดการโครงการ 3(3-0-6)
(Innovation Project Management)
07-086-306 การจัดการความเสี่ยงและภาวะวิกฤติ 3(2-2-5)
(Risk and Crisis Management)
07-086-307 ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การภาครัฐและภาคเอกชน 3(3-0-6)
(Social Responsibility of Public and Private Sector)
07-086-308 การจัดการเชิงกลยุทธ์สำหรับองค์การภาครัฐและภาคเอกชน 3(2-2-5)
(Strategic Management for Public and Private Sector)
07-086-309 นวัตกรรมการจัดการความรู้เพื่อการพัฒนา 3(3-0-6)
(Innovation Knowledge Management for Development)
07-086-310 การบัญชีเพื่อการตัดสินใจ 3(3-0-6)
(Accounting for Decision Making)
07-086-311 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน 3(2-2-5)
(Management Information System for Public and Private Sector)
07-086-312 การจัดการความขัดแย้งภาครัฐและภาคเอกชน 3(3-0-6)
(Conflict Management for Public and Private Sector)
3) วิทยานิพนธ์
หมวดรายวิชาวิทยานิพนธ์ (แผน ก แบบ ก1)
07-086-401 วิทยานิพนธ์ 36(0-108-0)
(Thesis)
หมวดรายวิชาวิทยานิพนธ์ (แผน ก แบบ ก2)
07-086-402 วิทยานิพนธ์ 12(0-36-0)
(Thesis)
หมวดรายวิชาการค้นคว้าอิสระ (แผน ข)
07-086-501 การค้นคว้าอิสระ 6(0-18-0)
(Independent Study)
แผนการศึกษา
แผน ก แบบ ก1 | ||
ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาต้น | ||
07-086-401 | วิทยานิพนธ์ | 9(0-27-0) |
รวม | 9(0-27-0) | |
ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาปลาย | ||
07-086-401 | วิทยานิพนธ์ | 9(0-27-0) |
รวม | 9(0-27-0) | |
ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาต้น | ||
07-086-401 | วิทยานิพนธ์ | 9(0-27-0) |
รวม | 9(0-27-0) | |
ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาปลาย | ||
07-086-401 | วิทยานิพนธ์ | 9(0-27-0) |
รวม | 9(0-27-0) | |
รวมตลอดหลักสูตร | 36(0-108-0) |
แผน ก แบบ ก2 | ||
ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาต้น | ||
07-086-201 | นวัตกรรมการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน | 3(3-0-6) |
07-086-202 | การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ | 3(3-0-6) |
07-086-203 | ระเบียบวิธีวิจัยทางการจัดการ | 3(3-0-6) |
รวม | 9(x-x-x) | |
ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาปลาย | ||
07-086-204 | สัมมนานวัตกรรมการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน | 3(2-2-5) |
07-086-402 | วิทยานิพนธ์ 1 | 6(0-9-0) |
07-086-xxx | วิชาเลือก | 3(x-x-x) |
รวม | 12(x-x-x) | |
ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาต้น | ||
07-086-xxx | ภาวะผู้นำและการบริหารการเปลี่ยนแปลง | 3(3-0-6) |
07-086-xxx | วิชาเลือก | 3(x-x-x) |
07-086-401 | วิชาเลือก | 3(x-x-x) |
รวม | 9(x-x-x) | |
ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาปลาย | ||
07-086-402 | วิทยานิพนธ์ 2 | 6(0-18-0) |
รวม | 6(0-18-0) | |
รวมตลอดหลักสูตร | 36(x-x-x) | |
แผน ข | ||
ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาต้น | ||
07-086-201 | นวัตกรรมการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน | 3(3-0-6) |
07-086-202 | การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ | 3(3-0-6) |
07-086-203 | ระเบียบวิธีวิจัยทางการจัดการ | 3(3-0-6) |
รวม | 9(x-x-x) | |
ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาปลาย | ||
07-086-204 | สัมมนานวัตกรรมการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน | 3(2-2-5) |
07-086-501 | การค้นคว้าอิสระ 1 | 3(0-9-0) |
07-086-xxx | วิชาเลือก | 3(x-x-x) |
รวม | 9(x-x-x) | |
ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาต้น | ||
07-086-xxx | ภาวะผู้นำและการบริหารการเปลี่ยนแปลง | 3(3-0-6) |
07-086-xxx | วิชาเลือก | 3(x-x-x) |
07-086-xxx | วิชาเลือก | 3(x-x-x) |
รวม | 9(x-x-x) | |
ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาปลาย | ||
07-086-501 | การค้นคว้าอิสระ 2 | 3(0-9-0) |
07-086–xxx | วิชาเลือก | 3(x-x-x) |
รวม | 9(x-x-x) | |
รวมตลอดหลักสูตร | 36(x-x-x) |
หมายเหตุ น = หน่วยกิต , ท = ทฤษฎี , ป = ปฏิบัติ, ศ = ศึกษาด้วยตนเอง
หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต (Master of Management Program) สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน (Innovative Public and Private Management) กำหนดจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร รวมไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (มคอ.) และมีการจัดการเรียนตลอดหลักสูตรโดยใช้ระบบแบบโมดูล (Modular System Model) โดยนำเอาวิชาที่มีเนื้อหาสัมพันธ์กัน หรือเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน และได้กำหนดให้มีการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาที่เลือกเรียนใน แผน ก แบบ ก2 จำนวน 4 โมดูล (Module) และ แผน ข จำนวน 4 โมดูล (Module) ดังรายละเอียด
Modular System Model
แผน ก แบบ ก2
Module 1 นวัตกรรมการจัดการองค์การ (ปีที่ 1 ภาคการศึกษาต้น)
โมดูลนี้เป็นโมดูลที่จัดการเรียนการสอนในเรื่องนวัตกรรมการจัดการ การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้เกี่ยวกับศาสตร์นวัตกรรมการจัดการ การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ทั้งด้านภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงได้จัดการเรียนการสอนในเรื่องระเบียบวิธีวิจัยทางการจัดการ เพื่อเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ข้อมูล กำหนดปัญหา และเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาเพื่อเชื่อมโยงไปยังโมดูลต่อไป
เป้าหมาย Module 1
ผู้เรียนมีความรู้ด้านนวัตกรรมการจัดการและเข้าใจแนวคิดนวัตกรรมการจัดการ การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน และระเบียบวิธีวิจัยทางการจัดการ รวมถึงผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ข้อมูล กำหนดปัญหา และเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาได้
เกณฑ์การวัดผลประจำ Module 1
โจทย์ปัญหาจากองค์การภาครัฐ หรือภาคเอกชนอย่างน้อย 1 โจทย์ มีแนวทางดังนี้ โดยกำหนดให้เป็นโครงงานที่มีการศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ โดยใช้ข้อมูลที่ได้จากโจทย์ปัญหาขององค์การภาครัฐและภาคเอกชน หรือข้อมูลจากงานวิจัย
Module 2 สัมมนานวัตกรรมการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน (ปีที่ 1 ภาคการศึกษาปลาย)
จากโมดูลที่ 1 นักศึกษาได้รับองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน และการวิเคราะห์ข้อมูลที่เพียงพอต่อการนำไปประยุกต์ใช้ ดังนั้นโมดูลนี้จึงเป็นการนำองค์ความรู้ ที่ผ่านมาประยุกต์ใช้กับข้อมูล และฝึกฝนการนำเสนอผลการวิเคราะห์ในรายวิชาสัมมนานวัตกรรม การจัดการภาครัฐและภาคเอกชนร่วมกับเตรียมความพร้อมในการทำวิทยานิพนธ์ รวมทั้งการนำเสนอโครงร่างงานวิจัย และเพื่อเชื่อมโยงไปยังโมดูลต่อไป
เป้าหมาย Module 2
ผู้เรียนมีความรู้ ด้านนวัตกรรมการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน และวิทยานิพนธ์ รวมถึงผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้ความรู้กับประเด็นปัญหาในปัจจุบันขององค์การภาครัฐและภาคเอกชนได้
เกณฑ์การวัดผลประจำ Module 2
1. การนำเสนอและอภิปรายผลการศึกษาดูงานในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน อย่างน้อย 1 ชิ้น
2. โจทย์ปัญหาที่เกี่ยวข้องทางด้านนวัตกรรมการจัดการภาครัฐ หรือภาคเอกชนในปัจจุบัน อย่างน้อย 1 โจทย์ มีแนวทางดังนี้ โดยประมวลผลข้อมูลจากการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐหรือภาคเอกชน และพัฒนาเป็นโครงร่างวิทยานิพนธ์
- นำเสนอโครงร่างวิทยานิพนธ์ จำนวน 1 ชิ้น โดยกำหนดให้เป็นโครงร่างที่นำ องค์ความรู้ที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูล การดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐหรือภาคเอกชน และข้อมูลจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
Module 3 ภาวะผู้นำเพื่อการบริหารการเปลี่ยนแปลง (ปีที่ 2 ภาคการศึกษาต้น)
โมดูลนี้เป็นการจัดการเรียนการสอนเรื่องภาวะผู้นำและการบริหารการเปลี่ยนแปลง บทบาท อำนาจหน้าที่ ความสำคัญ และอิทธิพลของผู้นำที่มีต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลง ขององค์การภาครัฐและภาคเอกชน โดยประยุกต์ใช้ความความรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นำ รวมถึงการบูรณาการร่วมกับประสบการณ์ผ่านการใช้เครื่องมือนวัตกรรมการจัดการเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาองค์การให้สอดรับการเปลี่ยนแปลง
เป้าหมาย Module 3
ผู้เรียนมีความรู้เรื่องภาวะผู้นำและการบริหารการเปลี่ยนแปลง รวมถึงผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้ความความรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นำและบูรณาการประสบการณ์ตรงผ่านการใช้เครื่องมือนวัตกรรมการจัดการ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาองค์การที่สอดรับการเปลี่ยนแปลงขององค์การภาครัฐและภาคเอกชน
เกณฑ์การวัดผลประจำ Module 3
โจทย์ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำและการบริหารการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันอย่างน้อย 1 โจทย์ โดยใช้ข้อมูลที่ได้จากโจทย์ปัญหาขององค์การภาครัฐ หรือภาคเอกชน หรือข้อมูลจากงานวิจัย มีแนวทางดังนี้ โดยกำหนดให้เป็นโครงงานที่มีองค์ความรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นำและการบริหารการเปลี่ยนแปลงผ่านการประยุกต์ใช้เครื่องมือนวัตกรรมการจัดการภาครัฐ หรือภาคเอกชน และนำเสนอผลการวิเคราะห์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องกับกับสถานการณ์ปัจจุบัน
Module 4 การวิจัยทางการจัดการ และการนำเสนอ (ปีที่ 2 ภาคการศึกษาปลาย)
จากโมดูล 1-3 นักศึกษาได้รับองค์ความด้านนวัตกรรมการจัดการภาครัฐและภาคเอกชนที่เพียงพอสำหรับการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการดำเนินงานวิจัย และการนำเสนอผลการวิจัย เพื่อใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา และพัฒนานวัตกรรมการจัดการขององค์การภาครัฐและภาคเอกชน
เป้าหมาย Module 4
ผู้เรียนมีทักษะในการนำเสนอผลงานวิจัย และสามารถสรุปผลงานวิจัย เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา และพัฒนานวัตกรรมการจัดการขององค์การภาครัฐและภาคเอกชน
เกณฑ์การวัดผลประจำ Module 4
นักศึกษานำเสนอผลงานวิจัย และสามารถสรุปผลงานวิจัย
Modular System Model
แผน ข
Module 1 นวัตกรรมการจัดการองค์การ (ปีที่ 1 ภาคการศึกษาต้น)
โมดูลนี้เป็นโมดูลที่จัดการเรียนการสอนในเรื่องนวัตกรรมการจัดการ การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้เกี่ยวกับศาสตร์นวัตกรรมการจัดการ การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ทั้งด้านภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงได้จัดการเรียนการสอนในเรื่องระเบียบวิธีวิจัยทางการจัดการ เพื่อเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ข้อมูล กำหนดปัญหา และเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาเพื่อเชื่อมโยงไปยังโมดูลต่อไป
เป้าหมาย Module 1
ผู้เรียนมีความรู้ด้านนวัตกรรมการจัดการและเข้าใจแนวคิดนวัตกรรมการจัดการ การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน และระเบียบวิธีวิจัยทางการจัดการ รวมถึงผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ข้อมูล กำหนดปัญหา และเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาได้
เกณฑ์การวัดผลประจำ Module 1
โจทย์ปัญหาจากองค์การภาครัฐ หรือภาคเอกชนอย่างน้อย 1 โจทย์ มีแนวทางดังนี้ โดยกำหนดให้เป็นโครงงานที่มีการศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ โดยใช้ข้อมูลที่ได้จากโจทย์ปัญหาขององค์การภาครัฐและภาคเอกชน หรือข้อมูลจากงานวิจัย
Module 2 สัมมนานวัตกรรมการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน (ปีที่ 1 ภาคการศึกษาปลาย)
จากโมดูลที่ 1 นักศึกษาได้รับองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน และการวิเคราะห์ข้อมูลที่เพียงพอต่อการนำไปประยุกต์ใช้ ดังนั้นโมดูลนี้จึงเป็นการนำองค์ความรู้ ที่ผ่านมาประยุกต์ใช้กับข้อมูล และฝึกฝนการนำเสนอผลการวิเคราะห์ในรายวิชาสัมมนานวัตกรรม การจัดการภาครัฐและภาคเอกชนร่วมกับเตรียมความพร้อมในการทำการค้นคว้าอิสระ รวมทั้งการนำเสนอโครงร่างงานวิจัย และเพื่อเชื่อมโยงไปยังโมดูลต่อไป
เป้าหมาย Module 2
ผู้เรียนมีความรู้ ด้านนวัตกรรมการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน และการศึกษาอิสระ รวมถึงผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้ความรู้กับประเด็นปัญหาในปัจจุบันขององค์การภาครัฐและภาคเอกชนได้
เกณฑ์การวัดผลประจำ Module 2
1. การนำเสนอและอภิปรายผลการศึกษาดูงานในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน อย่างน้อย 1 ชิ้น
2. โจทย์ปัญหาที่เกี่ยวข้องทางด้านนวัตกรรมการจัดการภาครัฐ หรือภาคเอกชนในปัจจุบัน อย่างน้อย 1 โจทย์ มีแนวทางดังนี้ โดยประมวลผลข้อมูลจากการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐหรือภาคเอกชน และพัฒนาเป็นโครงร่างการค้นคว้าอิสระ
- นำเสนอโครงร่างการค้นคว้าอิสระ จำนวน 1 ชิ้น โดยกำหนดให้เป็นโครงร่างที่นำ
องค์ความรู้ที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูล การดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐหรือภาคเอกชน และข้อมูลจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
Module 3 ภาวะผู้นำเพื่อการบริหารการเปลี่ยนแปลง (ปีที่ 2 ภาคการศึกษาต้น)
โมดูลนี้เป็นการจัดการเรียนการสอนเรื่องภาวะผู้นำและการบริหารการเปลี่ยนแปลง บทบาท อำนาจหน้าที่ ความสำคัญ และอิทธิพลของผู้นำที่มีต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลง ขององค์การภาครัฐและภาคเอกชน โดยประยุกต์ใช้ความความรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นำ รวมถึงการบูรณาการร่วมกับประสบการณ์ผ่านการใช้เครื่องมือนวัตกรรมการจัดการเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาองค์การให้สอดรับการเปลี่ยนแปลง
เป้าหมาย Module 3
ผู้เรียนมีความรู้เรื่องภาวะผู้นำและการบริหารการเปลี่ยนแปลง รวมถึงผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้ความความรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นำและบูรณาการประสบการณ์ตรงผ่านการใช้เครื่องมือนวัตกรรมการจัดการ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาองค์การที่สอดรับการเปลี่ยนแปลงขององค์การภาครัฐและภาคเอกชน
เกณฑ์การวัดผลประจำ Module 3
โจทย์ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำและการบริหารการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันอย่างน้อย 1 โจทย์ โดยใช้ข้อมูลที่ได้จากโจทย์ปัญหาขององค์การภาครัฐ หรือภาคเอกชน หรือข้อมูลจากงานวิจัย มีแนวทางดังนี้ โดยกำหนดให้เป็นโครงงานที่มีองค์ความรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นำและการบริหารการเปลี่ยนแปลงผ่านการประยุกต์ใช้เครื่องมือนวัตกรรมการจัดการภาครัฐ หรือภาคเอกชน และนำเสนอผลการวิเคราะห์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องกับกับสถานการณ์ปัจจุบัน
Module 4 การวิจัยทางการจัดการ และการนำเสนอ (ปีที่ 2 ภาคการศึกษาปลาย)
จากโมดูล 1-3 นักศึกษาได้รับองค์ความด้านนวัตกรรมการจัดการภาครัฐและภาคเอกชนที่เพียงพอสำหรับการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการดำเนินงานวิจัย และการนำเสนอผลการวิจัย เพื่อใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา และพัฒนานวัตกรรมการจัดการขององค์การภาครัฐและภาคเอกชน
เป้าหมาย Module 4
ผู้เรียนมีทักษะในการนำเสนอผลงานวิจัย และสามารถสรุปผลงานวิจัย เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา และพัฒนานวัตกรรมการจัดการขององค์การภาครัฐและภาคเอกชน
เกณฑ์การวัดผลประจำ Module 4
นักศึกษานำเสนอผลงานวิจัย และสามารถสรุปผลงานวิจัย
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา :
1 นักการจัดการในหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงองค์การไม่แสวงหากำไร
2 นักวิชาการ นักวิจัยในสถาบันการศึกษาภาครัฐและภาคเอกชน
3 ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน
4 ผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup)
5 นักการเมืองท้องถิ่นและนักการเมืองระดับชาติ